Sunday 13 July 2014

Please visit our site to read daily hot news in  Thai and English, we are updating across the Thai  and worldwide news. Kindly support use as we try to do the best to collect the news for you. Hopefully you  will help to share it if you think it over as valuable information. Thanks


1. ผลจากการสอบเทียบมาตรฐานทำให้เห็นความผิดพลาดที่แสดงบน
    เครื่องมือวัด ระบบการวัด หรือวัสดุที่ใช้วัด หรือใช้กำหนดปริมาณ
    บนสเกลของเครื่องมือวัด
2. การสอบเทียบมาตรฐานอาจจะใช้กำหนดคุณสมบัติทางมาตรวิทยาอื่นๆ
3. ผลการสอบเทียบมาตรฐานอาจบันทึกในรูปของ ใบรายงานผลการสอบ
    เทียบ หรือใบรับรองผลการสอบเทียบ
4. ผลการสอบเทียบมาตรฐาน บางครั้งแสดงในรูปของ การค่าแก้ หรือ
     Calibration Factor หรือ Calibration Curve 

การเปรียบเทียบระหว่างเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การวัด หรือมาตรฐานการวัดที่มีเกณฑ์ยอมรับแต่ยังไม่รู้คุณลักษณะด้านความแม่นยำ โดยเปรียบเทียบกับระบบมาตรฐานการวัดที่มีความสามารถ และรู้ค่าความไม่แน่นอนของการวัด เพื่อที่จะ ตรวจสอบ หาความสัมพันธ์ รายงาน  หรือทำให้มีความแตกต่างน้อยที่สุดโดยการปรับแต่ง หรือการรายงานค่าปรับแก้ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้รวมถึงการทำความสะอาดภายนอกเครื่องมือวัด การปรับแต่งย่อยๆ การสร้างหรือทบทวนตารางค่าแก้ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ 
(NCSL RP-3  p4)
ความสำคัญของการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องวัด
เพื่อทำให้แน่ใจว่าเครื่องมือวัดยังสามารถให้ผลการวัดที่เป็นไป
     ตามคุณลักษณะที่ต้องการ(มีค่าผิดพลาดไม่เกินเกณฑ์ยอมรับ)
   เพื่อทำให้เกิดความสามารถสอบกลับได้ของผลการวัด
   เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
   เพื่อให้รู้ค่าปรับแก้ของเครื่องมือวัดที่รับการสอบเทียบ
   เพื่อการยอมรับระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
   เพื่อความเป็นธรรมทางการค้า  
                                        ฯลฯ
ความหมายของการสอบเทียบภายใน

การสอบเทียบภายใน (in-house calibration) หมายถึง การสอบเทียบซึ่ง ดำเนินการโดยองค์กรเอง กระทำภายในพื้นที่ของโรงงาน และใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น ใช้บุคลากร เครื่องมือมาตรฐาน วิธีการ   ขององค์กร เพื่อให้เครื่องมือวัดที่จำเป็นต้องได้รับการสอบเทียบ ได้รับการสอบเทียบอย่างเหมาะสมตามที่กำหนด
    ( การจ้างหน่วยงานภายนอกมาสอบเทียบ ที่โรงงาน
       จัดเป็น external calibration บางครั้งเรียก on site 
       calibration ) 
ลักษณะการสอบเทียบเครื่องวัดของโรงงานอุตสากรรม SMEs
รับบริการสอบเทียบเครื่องมือวัด จากห้องปฏิบัติการสอบเทียบ นอกองค์กร ( external calibration ) 

2.     ดำเนินการสอบเทียบในองค์กรเอง ( in – house calibration )

ดำเนินสอบเทียบแบบผสม ทั้งรับบริการจากภายนอก และการ
        ดำเนินการสอบเทียบเองภายในองค์กรเป็นบางส่วน

เกณฑ์ในการเลือกลักษณะของการสอบเทียบภายใน
1. ความพร้อมขององค์ประกอบการสอบเทียบภายในองค์กร

 2. ความประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับ การสอบเทียบภายนอก

3.  ความเสี่ยงต่อกิจการ  อันเกิดจากการวัดผิด
องค์ประกอบของการสอบเทียบภายใน( ref. UKAS-TPS52)
จัดให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการสอบเทียบ

2.  บุคลผู้สอบเทียบ และผู้ตรวจสอบการสอบเทียบได้รับการฝึกอบรม
     อย่างเหมาะสม

3.  มีอุปกรณ์มาตรฐานการวัด วัสดุมาตรฐานอ้างอิงที่ได้รับการรับรอง
     เครื่องมือมาตรฐานอ้างอิง ต้องสามารถสอบกลับได้ถึง SI unit
     และมีค่าความไม่แน่นอนของการวัดเหมาะสม ต่อการเป็นอุปกรณ์
     มาตรฐานการสอบเทียบ
4. มีการจัดทำเอกสารแสดงขั้นตอนการสอบเทียบทุกประเภทที่ทำ
    ( calibration procedures )

5. มีแนวทางการบันทึกผลสอบเทียบ และการคำนวณผลที่เหมาะสม

6. มีวิธีการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัดในแต่ละงานสอบเทียบ
Down load UKAS TPS-52 จาก  www.ukas.com ( ใน information center)
ความประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับ การสอบเทียบภายนอก 
ค่าใช้จ่ายต่อจำนวนเครื่องวัด  ระหว่างการสอบเทียบโดยหน่วยงาน
  ภายนอก และสอบเทียบเองในองค์กร  แบบใดสูงกว่ากัน

  ค่าใช้จ่ายในการสอบเทียบจากภายนอก หาได้จากใบเสนอราคาของ
  ห้องปฏิบัติการสอบเทียบจากภายนอก สำหรับแต่ละเครื่องมือวัดแล้วนำ
  มารวมเป็นยอดรวมค่าสอบเทียบต่อปี
ค่าใช้จ่ายสำหรับการสอบเทียบภายนอก 
1. ค่าใช้จ่ายต่อจำนวนเครื่องวัด  ที่เรียกเก็บจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
      ภายนอก  ติดโดยรวมค่าใช้จ่ายเครื่องมือวัดทุกเครื่องที่สอบเทียบ

  2.  ค่าเชื้อเพลิงในการขนส่งเครื่องมือวัดไปสอบเทียบ
                                      ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายสำหรับการสอบเทียบภายในองค์กร 
1. ต้นทุนคงที่จากการลงทุนสร้างห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
      - ค่ากั้นห้อง  ค่าระบบควบคุมสภาพแวดล้อม
      - ค่าอุปกรณ์มาตรฐานการวัด
  2.  ค่าใช้จ่ายแปรผันระหว่างการให้บริการสอบเทียบภายในองค์กร
      - เงินค่าตอบแทนพนักงานสอบเทียบ และผู้ตรวจสอบผลการสอบเทียบ
      - ค่า calibrate อุปกรณ์มาตรฐานตามระยะเวลา
      - ค่า ไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
      - ค่าซ่อมบำรุงเครื่องมือมาตรฐานการวัด

      - ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาความสามารถ พนักงานสอบเทียบ ฯลฯ
Next
This is the most recent post.
Previous
Older Post

0 comments:

Post a Comment