- ส่วนใหญ่เตาหุงต้มภายในร้านอาหาร (Food Booth)
จะมีใช้เตา ~ 2 - 3 หัวเตา / 1 ร้านค้า
* ปริมาณเชื้อเพลิงก๊าซ LPG ที่ต้องการต่อ 1 หัวเตา ~ 1.5 kg/hr.
(หรือคิดเป็นค่าความร้อน = 72,000 Btu./hr.)
เพราะฉนั้น ร้านอาหาร 1 ร้านค้า จะต้องการเชื้อเพลิงในการปรุงอาหาร
= 1.5 kg./hr. X 3 หัวเตา = 4.5 kg/hr. / 1 ร้านค้า
- ในโครงการนี้จะมีร้านอาหารที่ใช้ก๊าซ ~ 27 ร้านค้า
แสดงว่าปริมาณเชื้อเพลิงที่ร้านอาหารต้องการทั้งหมด 27 ร้านค้า = 4.5 kg/hr. x 27 ร้านค้า
= 122 kg/hr (Maximum Load)
- ในความเป็นจริงการใช้เชื้อเพลิงในการปรุงอาหารอาจจะใช้งานไม่พร้อมกันทุกๆ ร้านค้า
สมมุติว่า ถ้าใช้เชื้อเพลิงรวมทั้งโครงการเฉลี่ยประมาณ 70% = 122 kg/hr x 0.7 = 85 kg/hr.
ข้อมูลทางเทคนิคที่ควรทราบ
- ถังก๊าซหุงต้ม ขนาดบรรจุ 48 กิโลกรัม จะมีอัตราการระเหยกลายเป็นไอสูงสุด
~ 3 - 4 kg./hr. / 1 ถัง และต่ำสุด 1.5 kg/hr. / 1 ถัง
1.) การเลือกปริมาณของถังก๊าซที่ใช้
สิ่งที่ทราบ - ปริมาณการใช้ก๊าซสูงสุดภายในโครงการ = 122 kg/hr.
- ปริมาณการใช้ก๊าซเฉลี่ยภายในโครงการ = 85 kg/hr.
* ถ้าภายใน 1 วัน โครงการใช้ก๊าซ ~ 12 ชั่วโมง
- ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้สูงสุดต่อวัน = 122 kg/hr x 12 hr = 1,464 kg/วัน
- ปริมาณเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวัน (70%) = 85 kg/hr x 12 hr = 1,020 kg./วัน
เนื่องจากถังก๊าซ 1 ถัง บรรจุเนื้อก๊าซหนัก 48 kg. โครงการนี้จะใช้ถังก๊าซจำนวน
- สูงสุด ต่อวัน = 1,464 kg/วัน ÷ 48 kg/ 1 ถัง 31 ถัง/วัน
- เฉลี่ยต่อวัน = 1,020 kg/วัน ÷ 48 kg/1 ถัง = 22 ถัง/วัน
หมายเหตุ : - ถ้าปริมาณการใช้ต่อวันน้อยจำนวนถังก๊าซที่ใช้ต่อวันก็จะลดลงตามไปด้วย
2.) ทำไมต้องมีเครื่องต้มระเหยก๊าซเข้ามาช่วย
- เนื่องจากเรารู้แล้วว่า ปริมาณการใช้ก๊าซสูงสุดของโครงการ คือ 122 kg./hr. ถ้าเราใช้ระบบ
จ่ายก๊าซที่ไม่มีเครื่องต้มก๊าซ ตามกฎหมายเราจะเก็บและใช้ก๊าซจากถังหุงต้มได้ปริมาณมากสุด คือ 20 ถัง
* เพราะฉนั้นอัตราการระเหยกลายเป็นไอ ที่ระบบจะจ่ายได้สูงสุด
คือ 20 ถัง x 1.5 kg./hr./ถัง = 30 kg./hr.
จะเห็นว่าปริมาณก๊าซที่ระบบจะจ่ายไปปลายทางน้อยกว่าความต้องการปลายทาง (ดีมานมากกว่าซัพพลาย)
จะทำให้เกิดปัญหาต่อการใช้งานระบบ คือ ก๊าซที่จ่ายไปที่ปลายทางจะมีความดันไม่คงที่ เปลวไฟที่เตา
จะไม่สม่ำเสมอ และทำให้ต้องรีบเปลี่ยนถังก๊าซ เพื่อนำถังใหม่เข้ามาใช้ และต้องรีบคืนถังก๊าซกับร้านก๊าซ
ซึ่งปริมาณก๊าซยังคงมีเหลือค้างอยู่ภายในถัง ทำให้สูญเสียก๊าซไปโดยเปล่าประโยชน์
ก๊าซที่เหลือค้างภายในถัง จากข้อมูลที่เคยทราบจากทางลูกค้า จะเหลือก๊าซค้างภายในถัง
ตั้งแต่ 3 - 10 kg. / 1 ถัง
และนี่คือสาเหตุ ที่ต้องนำเครื่องต้มก๊าซเข้ามาช่วย เนื่องจากเครื่องต้มก๊าซ จะนำน้ำก๊าซ
จากภายในถังก๊าซออกมาใช้งานโดยตรง ซึ่งน้ำก๊าซที่เข้ามาภายในเครื่องต้มก๊าซ จะถูกแลกเปลี่ยน
ความร้อนกับน้ำร้อนภายในเครื่องต้มน้ำก๊าซ เมื่อได้รับความร้อนที่อุณหภูมิของน้ำร้อน ~ 55๐ C
จะเปลี่ยนสถานะเป็นไอก๊าซ และจะถูกจ่ายออกมาใช้งาน โดยขนาดของเครื่องต้มก๊าซ
จะมีขนาดการจ่ายไอก๊าซตั้งแต่ 100,150,200 และ 300 kg/hr. แต่เนื่องจากปริมาณการใช้ก๊าซ
สูงสุดอยู่ที่ 122 kg/hr. เราจึงเลือกใช้เครื่องต้มก๊าซ ขนาด 150 kg/hr. สำหรับโครงการนี้
หมายเหตุ : - ระบบจ่ายก๊าซที่มีเครื่องต้มก๊าซ ในทางปฏิบัติเมื่อเราใช้งานแล้วจะพบว่าก๊าซ
จะมีเหลือค้างอยู่ภายในถัง ~ 1/2 - 1 kg./ถัง การที่จะใช้ก๊าซให้หมดถังในทางปฏิบัติ ระบบ
ไม่สามารถจะทำได้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์ Float Valve ภายในเครื่องต้มก๊าซ
0 comments:
Post a Comment